ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

   

สำนวน สุภาษิต ” ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา ”

ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการจะทำอะไรก็ให้ทบทวนดูความสามารถตนเองก่อน ในปัจจุบันสำนวนสุภาษิตนี้มักใช้ในเชิงดูถูกผู้อื่นที่ต่ำต้อยกว่า ว่าไม่เจียมตัว เช่น การดูถูกผู้ชายที่มีฐานะต่ำต้อยกว่าที่ไปชอบหญิงที่มีฐานะดีกว่า

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ, นกน้อยทำรังแต่พอตัว

ที่มาของสํานวน : กะโหลกในสำนวนนี้คือกระโหลกกะลา การตักน้ำมาใส่แล้วดูเงาตัวเองเป็นการเปรียบเปรยถึงการย้อนมองตัวเองว่าตัวเองเป็นเช่นไร

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน :
- ภาคินแอบชอบมะนาวลูกสาวเศรษฐีใหญ่ประจำหมู่บ้าน แต่ท่านเศรษฐีมองว่าภาคินเป็นลูกชาวนาฐานะยากจน จึงไม่ยอมให้คบหากับลูกสาวของตน และได้กล่าวเตือนภาคินว่า ให้ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงาตัวเองเสียบ้าง

เรื่องน่าสนใจ

Digg it StumbleUpon del.icio.us Google Yahoo! reddit

แสดงความคิดเห็น

advertisement