ไม่เอาถ่าน

   

สำนวน คำพังเพย ” ไม่เอาถ่าน ”

สำนวน ไม่เอาถ่าน

ความหมาย สํานวนนี้หมายถึง เหลวไหลไม่เอาใจใส่ในการที่จะทำตัวให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษาเล่าเรียน ในด้านความประพฤติ หรือในด้านอาชีพการงาน เป็นต้น สำนวนนี้มักนำไปใช้เป็น เด็กไม่เอาถ่าน หรือ คนไม่เอาถ่าน

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : หนักไม่เอาเบาไม่สู้

ที่มาของสํานวน :
- ไม่เอาถ่าน เป็นสำนวนมาจากการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งนิยมทำกันในสมัยโบราณ คือ ทำแร่อื่น ๆ ให้เป็นทอง วิธีทำก็คือ ตั้งเตาถลุงแร่ ใช้ถ่านอย่างดีเป็นเชื้อไฟ มียาใส่ให้แร่นั้นกลายเป็นทอง แร่บางอย่างถลุงยาก ใช้ถ่านเผาเท่าไรก็ไม่ละลาย เลยเกิดเป็นสำนวนพูดว่า ไม่เอาถ่าน

- คำว่า ถ่าน มีบางคนเข้าใจว่า คงจะเพี้ยนมาจาก ฐาน คือ ฐานะ ไม่เอาถ่าน ก็คือ ไม่คิดตั้งตัวให้มีฐานะ”

อ้างอิงจาก : หนังสือ สำนวนไทย ของ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๔๔๖)

ตัวอย่างประโยค :
- ดนัยเป็นเด็กไม่เอาถ่านเพราะเขาไม่ตั้งใจเรียน เวลาเรียนเขาก็มักจะชวนเพื่อนออกไปเที่ยวเตร่
- สมชายมีครอบครัวแล้วแต่ยังทำตัวเป็นคนไม่เอาถ่าน ชอบออกไปตั้งวงดื่มเหล้ากับเพื่อนๆ ไม่ตั้งใจทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว

เรื่องน่าสนใจ

Digg it StumbleUpon del.icio.us Google Yahoo! reddit

แสดงความคิดเห็น

advertisement