ถอยหลังเข้าคลอง

   

สำนวนสุภาษิต  “ ถอยหลังเข้าคลอง ”

ถอยหลังเข้าคลอง

ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงหวนกลับไปหาแบบเดิม หรือ ถอยหลังตกต่ำไปจากเดิม  ไม่พัฒนาแล้วแถมยังตกต่ำลงเรื่อยๆ

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : จมปลัก

ที่มาของสํานวน : ในสมัยก่อนคนไทยใช้ทางน้ำในการสัญจรเดินทางหลัก แม่น้ำสายใหญ่มีคลองเล็ก ๆ เป็นซอยแยกออกไป เช่นเดียวเดียวกับตรอก ซอย ตามถนนต่าง ๆในปัจจุบัน    และเมื่อมีพายเรือออกจากคลองเล็กสู่แม่น้ำใหญ่ก็เปรียบได้กับการทำงานที่เริ่มต้นจากงานเล็ก ๆ ไปสู่งานใหญ่ นับเป็นความก้าวหน้าในการทำงาน แต่หากแทนที่จะก้าวหน้ากลับถอยหลังไปสู่งานเล็ก ๆ เหมือนเดิม ก็จะมีคำเปรียบว่าเป็นการพายเรือถอยหลังกลับเข้าคลอง  ( ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐ – ๗.๓๐ น. )

ตัวอย่าง

ทุกวันนี้หลายๆบริษัทได้มีการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยสวยงามเอาใจลูกค้า ยกเว้นบริษัทแห่งหนึ่งที่ไม่ยอมปรับปรุงพัฒนาสินค้า และยังคงใช้บรรจุภัณฑ์แบบเดิมๆไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย

หมายเหตุ : สำนวนนี้มักมีผู้ใช้ผิด ๆ ว่า “ ถอยหลังลงคลอง ” หรือ “ ถอยหลังลงคู ”

เรื่องน่าสนใจ

Digg it StumbleUpon del.icio.us Google Yahoo! reddit

แสดงความคิดเห็น

advertisement