สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

   

สํานวนสุภาษิต “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”

สำนวนไทย

ความหมายของสํานวนสุภาษิตนี้ : หมายถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเป็นอย่างมาก ก็อาจจะพลาดท่าหรือทำผิดพลาดได้

สำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ผิดเป็นครู

ที่มาของสํานวนสุภาษิต : สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สี่ตีน หมายถึงสัตว์ที่มี 4 ตีน สัตว์เหล่านี้สามารถเดิน วิ่ง หรือปีนป่ายได้มั่นคงกว่าสัตว์ที่มีเพียง 2 ตีน. นักปราชญ์ หมายถึง ผู้รู้ ผู้มีปัญญา เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจว่ามีความรู้ความสามารถ จะคิด พูด หรือทำสิ่งที่ถูกต้องเสมอ แต่ทั้งสัตว์สี่ตีนและนักปราชญ์ก็มีโอกาสทำเรื่องผิดพลาดได้เช่นกัน (ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.)

ตัวอย่าง
ในโลกนี้ไม่ว่าใครก็เคยทำผิดพลาดกันมาทั้งนั้น ดั่งสำนวนไทยที่ว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” เมื่อทำผิดพลาดไปก็อย่ามัวแต่เสียใจ ให้รีบหาข้อบกพร่อง แล้วนำมาพิจารณา แก้ไขข้อบกพร่องนั้น จะได้ไม่ทำผิดพลาดอีก

เรื่องน่าสนใจ

Digg it StumbleUpon del.icio.us Google Yahoo! reddit

1 ความคิดเห็นใน สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

  1. Suphaporn says:

    เว้นวิจารณ์ว่างเว้น สดับฟัง
    เว้นที่ถามอันยัง ไป่รู้
    เว้นเล่าลิขิตสัง- เกตว่าง เว้นนา
    เว้นดั่งกล่าวหาว่าผู้ ปราชญ์ได้ฤๅมี
    เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม ใจตาม
    เรายากหากใจงาท อย่าคร้าน
    อุตส่าห์พยายาม การกิจ
    เอาเหยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน อย่าท้อทำกิน
    คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา
    คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง
    คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ
    คุณพระอาจารย์อ้างอิง อาจสู้สาคร
    ตรงกับสำนวนใด ช่วยหน่อยนะคะ

แสดงความคิดเห็น

advertisement