สำนวน สุภาษิต คำพังเผย ‘ขึ้นต้นด้วย ฝ พ ฟ ภ ม’

แมวไม่อยู่หนูละเลิง

 

สำนวนสุภาษิต ” แมวไม่อยู่หนูละเลิง ” ปัจจุบันเพี้ยนเป็น “ “แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง” ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ที่ตนเกรงกลัว หรือผู้ที่คอยคุมพฤติกรรมไม่อยู่ ผู้น้อยก็จะดีใจ มีความสุขร่าเริง สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : หน้าไหว้หลังหลอก

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

แมงเม่าบินเข้ากองไฟ

 

สำนวนสุภาษิต ” แมงเม่าบินเข้ากองไฟ ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงลุ่มหลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี จึงได้หลงผิดเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จนทำให้ตนเองได้รับอันตราย สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

 

สำนวนสุภาษิต ” มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึง ผู้ที่ไม่ยอมช่วยเหลืองานของส่วนรวม แล้วแถมยังทำตัวเกะกะทำให้การดำเนินงานของส่วนร่วมลำบากยิ่งขึ้น สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : หมูเขาจะหาม อย่าเอาคานเข้าไปสอด ที่มาของสํานวน : คำว่า “ ราน้ำ ” ( ดูความหมาย )  ในสำนวนนี้ แปลว่า ต้านน้ำ  ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้พายเรือลำบากต้องใช้แรงมากขึ้น ผู้ที่ลงเรือลำเดียวกับคนอื่น นอกจากจะไม่ช่วยพายเรือแล้ว ยังจะเอาเท้าราน้ำเล่น ทำให้คนอื่นพายเรือลำบากขึ้น จึงเกิดเป็นสำนวน “ มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ” วิดีโอที่กี่ยวข้องกับสำนวน   ตัวอย่าง ครูมอบหมายให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันทำรายงาน ในกลุ่มของสมศรีมีเพื่อนคนนึงไม่ยอมช่วยงานกลุ่มเลย แล้วยังมาชวนเพื่อนที่ทำงานอยู่นั้นพูดคุยอีก ทำให้งานเสร็จช้า ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ” มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ”

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ไม่เอาถ่าน

 

สำนวน คำพังเพย ” ไม่เอาถ่าน ” ความหมาย สํานวนนี้หมายถึง เหลวไหลไม่เอาใจใส่ในการที่จะทำตัวให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษาเล่าเรียน ในด้านความประพฤติ หรือในด้านอาชีพการงาน เป็นต้น สำนวนนี้มักนำไปใช้เป็น เด็กไม่เอาถ่าน หรือ คนไม่เอาถ่าน

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ฝากเนื้อไว้กับเสือ

 

สำนวน ” ฝากเนื้อไว้กับเสือ ” ความหมาย สํานวนนี้หมายถึง ฝากของหรือฝากฝังสิ่งใดให้กับคนที่ชอบสิ่งนั้นเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ฝากมีความเสี่ยงสูง ที่จะสูญเสียของสิ่งนั้นไป

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น

 

สำนวนไทย : ” พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น ” ความหมาย : สํานวนนี้ หมายถึง แม้ว่าจะมีความพร้อมแต่ก็สายเกินไปที่จะคว้าโอกาสนั้นๆไว้ได้ สำนวนนี้มักใช้ในเชิงพบรักเมื่อสายไป ซึงหมายถึงชายที่เผอิญพบกับผู้หญิงที่ถูกใจ แต่ตนเองนั้นมีครอบครัวหรือว่าสูงวัยมากแล้ว ทำให้ไม่สามารถจะเป็นคู่ครองกันได้

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

 

สำนวน สุภาษิต : ” แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการยอมคู่กรณีเพื่อไม่ให้มีเรื่องราวบานปลาย แต่ถ้าหากไม่ยอมแพ้ก็จะมีปัญหาและอาจจะเป็นเรื่องใหญ่โตได้

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

มวยแทน

 

สำนวนไทย : ” มวยแทน ” ความหมาย : สำนวนนี้หมายถึงตัวสำรอง หรือเป็นตัวแทนเวลาที่ต้องการแต่ไม่ค่อยถูกให้ความสำคัญเท่าไหร่

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

 

สำนวนสุภาษิต ” พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงพูดไปไม่มีประโยชน์ อาจจะทำให้เกิดโทษได้ ดังนั้นนิ่งเสียดีกว่า สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ปลาหมอตายเพราะปาก

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ

 

สำนวนไทย : ” พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ “  หรือ  ” กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ” ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึง เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม ใช้ได้ทั้งเปลี่ยนจากร้ายเป็นดี หรือเปลี่ยนจากดีเป็นร้าย (สังเกตได้ว่าจะเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม) สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่ตรงกันข้าม : คงเส้นคงวา

[ อ่านเพิ่มเติม → ]
 Page 3 of 4 « 1  2  3  4 »
advertisement