ค้าค้นหา ‘สำนวน’

ปลาหมอตายเพราะปาก

 

สำนวนไทย : ” ปลาหมอตายเพราะปาก ” ความหมาย : สำนวนนี้หมายถึงคนที่ปากพล่อยชอบพูดจาไม่ดี จนตัวเองต้องได้รับผลผลกระทบจากคำพูดของตน

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น

 

สำนวน คำพังเพย : ” นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น ” ความหมาย : สำนวน คำพังเพยนี้หมายถึงไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ มักใช้เป็นข้ออ้างเวลาไม่อยากรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ถ่มน้ำลายรดฟ้า

 

สำนวนสุภาษิต : ” ถ่มน้ำลายรดฟ้า ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการคิดร้ายหรือดูหมิ่นสิ่งที่สูงกว่าตน ทำให้ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

 

สำนวนสุภาษิต ” รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงตนเองทำผิดพลาดแต่กลับไปโทษผู้อื่นว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดนั้น สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ขี้ราดโทษล่อง

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

เงียบเป็นเป่าสาก

 

สำนวนไทย ” เงียบเป็นเป่าสาก ” ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึงสถานการณ์ที่ไม่มีใครพูดอะไร เงียบสนิท ไม่มีเสียงตอบกลับใดๆ มักใช้ในสถานการณ์ที่มีคนถามไป แต่ไม่มีใครคนใดตอบกลับมา สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เงียบเหมือนป่าช้า

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ตกกระไดพลอยโจน

 

สำนวน คำพังเพย ” ตกกระไดพลอยโจน ” ความหมาย : สํานวน คำพังเพยนี้ หมายถึงจําเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบไม่มีทางเลี่ยง เมื่อพลาดไปแล้วก็ยอมเลยตามเลยเพื่อไม่ให้เสียเชิง และมักจะสื่อไปในทางที่มีผลกระทบไม่ดีเกิดขึ้น สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ปลาติดหลังแห, ตามน้ำ

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก

 

สำนวนไทย ” ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ” ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึง ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้ หรือผู้ที่พูดว่าทำสิ่งนั้นๆได้โดยง่าย ดูง่ายไปเสียหมด แต่พอเวลาทำจริงกลับทำไม่ได้อย่างที่พูดไว้ สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน :  เงื้อง่าราคาแพง ที่มาของสํานวน : มาจากเปรียบเปรยถึงการทำขนมเบื้องไทย ซึ่งดูเผินๆเหมือนกับว่าทำไม่ยาก แต่ที่จริงแล้ว ต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะขั้นตอนการละเลงแป้งบนกะทะให้เป็นแผ่น หากไม่ชำนาญจริงแผ่นแป้งจะเรียบบางไม่เท่ากัน ข้อสังเกต : คำว่า ‘ ปาก ‘  ในสำนวนนี้หมายถึงการพูด เช่น พูดว่าตัวเองสามารถละเลงแป้งบนกะทะเพื่อที่จะทำขนมเบื้องได้ง่ายๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วทำไม่ได้ง่ายๆ ต้องอาศัยความชำราญไม่ใช่ทำด้วยการพูด (ปาก) ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน – ผู้ชายคนนั้นดีแต่พูดไปเรื่อย อะไรๆก็ง่ายไปหมด แต่พอเอาเข้าจริง กลับทำอะไรไม่เป็นเลยสักอย่าง  ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ” ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ”  

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

วัวลืมตีน

 

สำนวนไทย ” วัวลืมตีน ” ความหมาย : สำนวนนี้หมายถึง คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ได้หน้าอย่าลืมหลัง , ยกตนข่มท่าน

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

คงเส้นคงวา

 

สำนวนไทย : คงเส้นคงวา ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึง เสมอต้นเสมอปลาย มีประพฤติเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เสมอต้นเสมอปลาย

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง

 

สำนวนสุภาษิตไทย ” ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการต่อว่าผู้อื่นว่าทำในสิ่งผิด แต่ตนเองกลับประพฤติผิดแบบนั้นเสียเอง สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : หัวตัวเองแตกมองไม่เห็น

[ อ่านเพิ่มเติม → ]
 Page 27 of 28  « First  ... « 24  25  26  27  28 »
advertisement