สิบคนเข้าไม่เท่าคนหนึ่งออก

   

สํานวนสุภาษิต : ” สิบคนเข้าไม่เท่าคนหนึ่งออก ”

สิบคนเข้าไม่เท่าคนหนึ่งออก

ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่มาทำงานใหม่ที่ยังด้อยประสบการณ์ ถึงแม้ว่าจะรับเข้ามาทำงานหลายคน แต่ก็ยังมีความสามารถเทียบเท่าคนเก่าเพียงคนเดียวที่ลาออกไปไม่ได้


สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน
: สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ

ที่มาของสํานวนสุภาษิต : เปรียบเปรยถึงคนรับใช้ในสมัยก่อน หากคนรับใช้ซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ที่อยู่รับใช้มานานได้ออกไป แม้ว่าจะได้รับคนรับใช้ใหม่เข้ามาหลายคน ก็ยังไม่รู้ใจและรู้งานเท่ากับคนเก่าที่ออกไป

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน
สมชายเป็นพนักงานที่อยู่ในบริษัทนี้มานาน เข้าใจระบบการทำงานและรู้ใจผู้จัดการเป็นอย่างดี เมื่อสมชายได้ลาออกไป แม้ว่าจะหาคนใหม่มาแทนสมชายแล้วก็ตาม แต่ผู้จัดการก็ยังรู้สึกว่าการทำงานล่าช้า ไม่คล่องตัวเหมือนแต่ก่อน ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ” สิบคนเข้าไม่เท่าคนหนึ่งออก ”

เรื่องน่าสนใจ

Digg it StumbleUpon del.icio.us Google Yahoo! reddit

แสดงความคิดเห็น

advertisement