สำนวน สุภาษิต คำพังเผย ‘สำนวน สุภาษิต คำพังเพย’

กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี

 

วันนี้ขอนำเสนอคำพังเพยที่ว่า ” กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี “  หลายคนคงจะได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยกันมาแล้ว และรู้ว่า กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองหลวงของไทยมาก่อน มีประวัติศาสตร์การสู้รบกับอริราชศัตรูมาหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน และไม่ว่าบ้านเมืองจะมีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดศึกสงคราม ก็จะมีวีรบุรุษ วีรสตรีมาคอยปกป้อง ฟื้นฟูบ้านเมือง ตัวอย่างเช่น พระนเรศวรมหาราช พระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น ตามตำราหลายๆเล่ม ได้กล่าวถึงที่มาของคำพังเพย ” กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี ” ว่า สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

กลิ้งครกขึ้นภูเขา

 

วันนี้ขอนำเสนอคำพังเพยไทยที่ว่า ” กลิ้งครกขึ้นภูเขา “  บางคนอาจแปลกใจว่า ทำไมไม่ใช้  “เข็นครกขึ้นภูเขา” ซึ่งจะได้ยินกันบ่อยพอสมควร นั้นจริงๆแล้วไม่ถูกต้อง ต้องใช้คำว่า “กลิ้งครก” ไม่ใช่ “เข็นครก” เพราะครกมีลักษณะกลมต้องพลิกเลื่อนไปจึงต้องใช้คำว่า ” กลิ้ง ” โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามอธิบายความหมายว่า

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

 

วันนี้ขอแนะนำคำพังเพย ที่ว่า ” กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้  “  เป็นคำคำเพย ซึ่งเป็นเชิงเปรียบเทียบ ถึงการทำงานที่ลังเล ไม่ยอมเลือก ไม่กล้าตัดสินใจ หรือมั่วแต่รอลังเลใจ  จนทำให้งานเสียหาย โดยคำพังเพยนี้มาจาก การคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน  เนื่องจากถั่วเป็นของสุกช้า ส่วนงาจะสุกเร็วกว่า เมื่อเอามาคั่วในกระทะเดียวกัน แล้วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน   สรุปความหมาย ของคำพังเพย “ กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ ” หมายถึงลักษณะของการทำงานที่มีความรีรอลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้อย่างหนึ่งแล้ว แต่กลับต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ

 

อีกหนึ่ง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ของไทยที่ได้ยินกันบ่อย ” เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ” จัดเป็นคำพังเพยนะครับ  โดยการเปรียบคนที่ทำอะไรไม่จริงจัง เจออุปสรรคนิดหน่อยก็ถอย ยอมแพ้เอาง่าย  กับการเหยียบขี้ไก่ให้แบนฝ่อไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายมาก( ไม่เชื่อลองเหยียบดูสิ ทั้งแบนทั้งเหม็นเลยแหละ )     สรุปความหมาย ของคำพังเพย “ เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ” หมายถึง คนที่ทำอะไรไม่จริงจัง ไม่ทุ่มเท ไม่เอาการเอางาน ไม่ตั้งใจทำให้ถึงที่สุด เจออุปสรรคนิดหน่อยก็ล้มเลิก หรือ ทำอะไรมักไม่สำเร็จแม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ  ส่วนที่มาของ “ เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ “  คนสมัยโบราณเปรียบคนชนิดนี้ว่า ขนาดกองขี้ไก่ที่มีขนาดเล็ก ยังเหยียบให้ฝ่อหรือแบนไม่ได้

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ

 

วันนี้ขอแนะนำคำพังเพย ที่ว่า ” ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ “  การตีความหมายของคำพังเพยนี้แบบไม่ต้องท่องจำ คือ ต้องนึกภาพตามว่า ในช่วงฤดูทำนา ชาวนาสมัยก่อยจะใช้ควายในการไถนา หากเราจะไปขอซื้อความยในช่วงนั้นคงจะหาซื้อได้ยาก และมีราคาแพงมาก จึงสามารถตีความหมายได้ว่า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกเวลา   หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม “ ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ “  ถึงเป็นคำพังเพย ?  ก็เพราะเป็นถ้อยคําที่ เปรียบเทียบเหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่พบเห็นได้ในการดํารงชีวิตของคนรุ่นก่อน เน้นการสั่งสอนแต่ใช้ในทํานองเสียดสี ประชดประชันเพื่อให้สะท้อนความคิด จึงจัดเป็น ‘ คำพังเพย ‘

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ

 

วันนี้ขอนำเสนอคำพังเพยที่ว่า ” สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ  “   มีความหมายว่า จะสุขหรือจะทุกข์ก็ขึ้นกับความคิดและทัศนคติของตัวเราเอง ที่เป็นผู้กำหนดเลือก หากตัวเราคิดทางบวก ไม่มุ่งร้ายผู้ใด จิตใจมีเมตตา ก็จะเกิดสุข  แต่ถ้าหากคิดทางลบก็จะเป็นทุกข์ มีความกังวลใจ ไม่เป็นสุข เหมือนตกนรก ” สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ” จัดเป็นคำพังเพย เพราะ “ใช้ ในทํานองเสียดสีประชดประชันเพื่อให้สะท้อนความคิด ความเชื่อถือ และเป็นคติเตือนใจ หรือเป็นข้อคิดสะกิดใจให้นํามาปฏิบัติ”  ดูหลักการแยกได้จาก    สํานวน สุภาษิต คําพังเพย ต่างกันอย่างไร  ?

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

เพชรตัดเพชร

 

วันนี้ขอแนะนำสํานวนไทยที่ว่า ” เพชรตัดเพชร “  หากใครชอบดูหนังแนวต่อสู้ ก็จะเคยได้ยินคำนี้ในชื่อหนังค่อนข้างบ่อย   เพชรตัดเพชร หมายถึงคนที่มีสติปัญหาและความสามารถพอๆกัน เมื่อต้องมาแข่งขันหรือต่อสู้กัน ก็อาจจะเสมอหรือสูสีเพราะว่าเก่งเหมือนกัน

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

อดเปรี้ยวกินหวาน

 

วันนี้ขอแนะนำสำนวนไทยที่ว่า ” อดเปรี้ยวกินหวาน ” สำนวนนี้มักใช้ในการให้หนุ่มสาวอดทนอย่าเพิ่งรีบมีความสัมพันธ์กันเร็วไป ให้รอจนสำเร็จการศึกษาเสียก่อน โดยความหมายทั่วไปหมายถึง การอดทนรอไม่คว้าสิ่งที่ล่อใจอยู่ตรงหน้า เพื่อต่อไปสิ่งนั้นๆจะให้ผลลัพธ์กลับมาที่มีค่ามากยิ่งขึ้น   สํานวน ” อดเปรี้ยวกินหวาน ” มีที่มาอย่างไร? สำนวนนี้ได้เปรียบเปรยถึง ผลไม้บางชนิดที่เพิ่งออกผลจะมีรสเปรี้ยว เช่น มะม่วง หากเด็ดผลมากินตอนเพิ่งออกผลจะมีรสเปรี้ยว แต่หากอดทนรอจนมะม่วงสุก แล้วค่อยสอยมากินก็จะได้มะม่วงที่มีรสหวานหอมอร่อย เมื่อทราบถึงที่มาแล้วการแปลความหมายของสำนวนก็แปลได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องท่องจำ

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

กระต่ายตื่นตูม

 

สำนวนสุภาษิต ” กระต่ายตื่นตูม ” ความหมาย สำนวนนี้หมายถึงอาการตื่นตกใจในเหตุการณ์ที่สรุปขึ้นเองอย่างไม่มีเหตุผล ตื่นตกใจโดยไม่คิดถึงเหตุผลว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ด่วนสรุปอะไรง่ายๆ สำนวนสุภาษิตที่คล้ายคลึงกัน : ตีตนไปก่อนไข้

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

กลมกลิ้งเป็นลูกมะนาว

 

สำนวนสุภาษิต ” กลมกลิ้งเป็นลูกมะนาว ” ความหมาย สำนวนนี้หมายถึงพฤติกรรมกลับกลอก กะล่อนมากจนตามไม่ทัน ที่มาของสำนวน เนื่องจากมะนาวมีผลกลมเกลี้ยง กลิ้งไปมาได้ง่าย จึงใช้เปรียบกับคนที่กะล่อนมากจนตามไม่ทัน เหมือนลูกมะนาวที่กลิ้งได้เร็ว เวลากลิ้งบนพื้นตามจับยาก เพราะผลกลมเกลี้ยง

[ อ่านเพิ่มเติม → ]
 Page 1 of 32  1  2  3  4  5 » ...  Last » 
advertisement