แหล่งรวมสำนวน สุภาษิต คำพังเพย https://proverbthai.com สำนวนสุภาษิตไทย และคำพังเพย รวบรวมไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษา Mon, 14 Dec 2020 02:19:34 +0000 en-US hourly 1 วัวเคยขา ม้าเคยขี่ https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%b2-%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b9%88.html https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%b2-%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b9%88.html#comments Tue, 10 Nov 2020 04:24:35 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=495 สำนวน คำพังเพย : วัวเคยขา ม้าเคยขี่

วัวเคยขา ม้าเคยขี่

ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึง คุ้นเคยกัน รู้ทีกัน เข้าใจท่วงทำนองของกันและกันเป็นอย่างดี

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ที่คล้ายคลึงกัน : ถ่านไฟเก่า

ที่มาของสํานวน : มาจากการเปรียบเปรยถึงวัวและม้า ซึ่งถ้าเคยขี่เคยนั่งกันมาก่อนแล้ว ก็จะคุ้นเคยกัน เข้าใจนิสัยกันเป็นอย่างดี

ข้อสังเกต :
- สำนวนนี้มักสื่อถึงชายหญิงที่เคยมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกันมากก่อน เมื่อมาพบเจอกันใหม่ก็ย่อมคุ้นเคยกัน

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน :
- ปวีณารู้สึกไม่สบายใจที่สามีของเธอไปงานวันเกิดแฟนเก่า กลัวว่าจะกลับมาคบกันเพราะวัวเคยขา ม้าเคยขี่

- จากวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระพันวษาไต่สวนคดีที่ขุนช้างถวายฎีกา ว่า

ชอบตบให้สลบลงกับที่           เฆี่ยนตีเสียให้ยับไม่นับได้
มะพร้าวห้าวยัดปากให้สาใจ  อ้ายหมื่นไวยก็โทษถึงฉกรรจ์
มึงถือว่าอีวันทองเป็นแม่ตัว    ไม่เกรงกลัวเว้โว้ทำโมหันธ์
ไปรับไยไม่ไปในกลางวัน       อ้ายแผนพ่อนั้นก็เป็นใจ
มันเหมือนวัวเคยขาม้าเคยขี่   ถึงบอกกูว่าดีหาเชื่อไม่
อ้ายช้างมันก็ฟ้องเป็นสองนัย ว่าอ้ายไวยลักแม่ให้บิดา

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%b2-%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b9%88.html/feed 0
คดในข้อ งอในกระดูก https://proverbthai.com/%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad-%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%81.html https://proverbthai.com/%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad-%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%81.html#comments Tue, 10 Nov 2020 03:45:17 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=1483 คำพังเพย : คดในข้อ งอในกระดูก

คดในข้อ งอในกระดูก

ความหมาย ของคำพังเพยนี้ : คนไม่ซื่อสัตย์ มีนิสัยคดโกงเอาเปรียบผู้อื่นจนเป็นสันดาน

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ซื่อเหมือนแมวนอนหวด

ที่มาของคำพังเพย : มาจากการเปรียบเปรยนิสัยใจคอคดโกง กับความคดงอของอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน
- เราไม่ควรคบหากับคนที่ คดในข้อ งอในกระดูก เพราะไว้ใจไม่ได้ และจะนำความเดือดร้อนมาให้

- นักการเมืองคนนั้เป็นคนประเภทที่เรียกว่า คดในข้อ งอในกระดูก เราไม่ควรไว้ใจเขาเป็นอันขาด

- พนักงานคนนั้นเป็นคนคดในข้อ งอในกระดูก ชอบยักยอกเงินบริษัท จึงถูกไล่ออกและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad-%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%81.html/feed 0
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม https://proverbthai.com/%e0%b8%9d%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%87%e0%b8%a1.html https://proverbthai.com/%e0%b8%9d%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%87%e0%b8%a1.html#comments Fri, 06 Nov 2020 03:16:57 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=378 สำนวนสุภาษิต : ฝนทั่งให้เป็นเข็ม

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม สภาษิต สำนวนไทย

ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึง การทำงานชิ้นหนึ่งที่ต้องใช้ความเพียรพยายามสูงมากกว่าจะสำเร็จผล

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เข็นครกขึ้นภูเขา

ที่มาของสํานวน :  เป็นการเปรียบเปรยถึง การฝนหรือตะไบทั่งซึ่งเป็นแท่งเหล็กขนาดใหญ่ ให้มีขนาดเล็กลงจนเท่าเข็มเล่มหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างสูงและอดทนอย่างมาก

สาระน่ารู้ :

- ความหมายของคำว่า ‘ ฝน ‘ ในสำนวนนี้  :  ก. ถู เช่น ฝนยา; ลับ เช่น ฝนมีด.

- ความหมายของคำว่า ‘ ทั่ง ‘  ในสำนวนนี้  : น. แท่งเหล็กสําหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิดเช่นเหล็กทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ.

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน :

- งานชิ้นนี้เป็นงานที่ยากราวกับการฝนทั่งให้เป็นเข็ม แต่ประยุทธ์กับธนาธรก็ร่วมมือกันทำจนสำเร็จได้ในที่สุด

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%9d%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%87%e0%b8%a1.html/feed 0
เด็ดบัวไม่ไว้ใย https://proverbthai.com/%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b9%89%e0%b9%83%e0%b8%a2.html https://proverbthai.com/%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b9%89%e0%b9%83%e0%b8%a2.html#comments Thu, 22 Oct 2020 03:57:21 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=207 สำนวนไทย : ” เด็ดบัวไม่ไว้ใย ”

สำนวน สุภาษิตไทย เด็ดบัวไม่ไว้ใย

ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึง การตัดความสัมพันธ์กันแบบเด็ดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาดอย่างไร้เยื่อใย มักใช้เข้าคู่กับ “เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว” ว่า เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่ตรงกันข้ามกัน : เด็ดบัวยังเหลือใย

ที่มาของสํานวน : เปรียบเปรยถึงการหักหรือเด็ดก้านของดอกบัว ก็มักจะมีใยบัวเป็นเส้นๆเชื่อมอยู่ระหว่างกัน ในสำนวนนี้เป็นการเด็ดดอกบัวแล้วไม่เหลือใยไว้ ก็เป็นการสื่อถึงตัดขาดกัน ไร้เยื่อใยต่อกัน

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน
- ป้อมกับตู่เป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก แต่พอโตขึ้นป้อมกับตู่ได้หลงรักผู้หญิงคนเดียวกัน ทำให้ทั้งสองทะเลาะกัน และต้องตัดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันชนิดที่ว่า เด็ดบัวไม่ไว้ใย

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b9%89%e0%b9%83%e0%b8%a2.html/feed 0
พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ https://proverbthai.com/%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad.html https://proverbthai.com/%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad.html#comments Wed, 21 Oct 2020 03:15:03 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=388 สำนวนไทย : ” พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ “  หรือ  ” กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ”

สำนวนไทย พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ

ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึง เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม ใช้ได้ทั้งเปลี่ยนจากร้ายเป็นดี หรือเปลี่ยนจากดีเป็นร้าย (สังเกตได้ว่าจะเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม)

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่ตรงกันข้าม
: คงเส้นคงวา

ที่มาของสํานวน : เป็นการเปรียบเปรยถึงหน้ามือและหลังมือที่มีความตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง คำว่า ” พลิก ” ในสำนวนเปรียบเปรยถึงการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน :
- เมื่อก่อนตอนอยู่ชั้นประถม เด็กชายป้อมเป็นเด็กทดีมีสัมมาคารวะ แต่ตอนนี้เมื่อเขาคบกับเพื่อนกลุ่มใหม่ เขากลับมีนิสัยก้าวร้าวพูดจาหยาบคาย ราวกับพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ
- หลังจากที่ลุงตู่ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ชีวิตของลุงตู่ก็พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ จากเดิมที่เคยลำบากต้องหาเช้ากินค่ำ ตอนนี้แกมีฐานะมั่นคงขึ้น เพราะนำเงินที่ได้ไปต่อยอดลุงทุนให้งอกเงย

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad.html/feed 0
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง https://proverbthai.com/%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9b%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2-%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b6%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87.html https://proverbthai.com/%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9b%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2-%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b6%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87.html#comments Tue, 29 Sep 2020 02:56:00 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=396 สำนวนสุภาษิต ” พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ”

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงพูดไปไม่มีประโยชน์ อาจจะทำให้เกิดโทษได้ ดังนั้นนิ่งเสียดีกว่า

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ปลาหมอตายเพราะปาก

ที่มาของสํานวน : ในอดีตการรอรับของรางวัลจากเจ้านาย หากพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกไปทำให้เจ้านายไม่พอใจ อาจจะได้รางวัลนิดเดียว(2 ไพเบี้ย) หรืออาจจะถูกลงโทษได้ แต่หากไม่พูดอะไรไปให้มากความ อยู่นิ่งๆรอรับรางวัล ก็จะราบรื่น ได้รับรางวัลตามที่ควรจะได้ หรือได้มากกว่าเดิม(1 ตำลึงทองคำ)

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง :

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้ :
- บางครั้งการไม่พูดอะไรเลยก็ยังดีเสียกว่าพูดออกไป ดังสำนวนสุภาษิตไทยที่ว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9b%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2-%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b6%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87.html/feed 0
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%87.html https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%87.html#comments Mon, 28 Sep 2020 05:23:43 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=513 สำนวนสุภาษิตไทย ” ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ”

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง

ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการต่อว่าผู้อื่นว่าทำในสิ่งผิด แต่ตนเองกลับประพฤติผิดแบบนั้นเสียเอง

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : หัวตัวเองแตกมองไม่เห็น

ที่มาของสํานวน : มาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนา ในบทที่อิเหนาได้ต่อว่า จรกา กับ วิหยาสะกำ ว่าไปหลงรักนางบุษบา จนต้องมาทำสงครามกันได้อย่างไร แต่เมื่ออิเหนาได้พบกับนางบุษบา ตัวเองกลับหลงรักจนต้องทำอุบายเผาเมืองดาหาเพื่อชิงตัวนางบุษษาเสียเอง จึงกลายมาเป็นสำนวนสุภาษิตในเชิงตําหนิติเตียน

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน :
- เวลาครูบุญมาเห็นนักเรียนทิ้งขยะในลงในท่อระบายน้ำ ก็มักจะเรียกนักเรียนมาตำหนิ ตักเตือน แต่วันนี้มีเด็กนักเรียนเห็นครูบุญมาทิ้งขยะลงในท่อระบายน้ำเสียเอง แบบนี้ตรงกับสำนวนสุภาษิตที่ว่า ” ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ”

- สมศรีชอบบอกว่าฉันไม่มีรสนิยมในการแต่งตัว แต่งตัวเชยๆเหมือนป้าแก่ๆ แต่วันนี้สมศรีก็แต่งตัวเหมือนป้าแก่ๆนะ แบบนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%87.html/feed 0
คงเส้นคงวา https://proverbthai.com/%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b2.html https://proverbthai.com/%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b2.html#comments Mon, 28 Sep 2020 02:21:16 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=1481 สำนวนไทย : คงเส้นคงวา

สำนวน คงเส้นคงวา

ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึง เสมอต้นเสมอปลาย มีประพฤติเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เสมอต้นเสมอปลาย

ที่มาของสํานวน : สำนวนนี้มาจากมาตราวัดที่เป็นเส้นวาศอก ฯลฯ ซึ่งเป็นการเปรียบกับการวัดความยาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ว่าเมื่อวัดครั้งหนึ่งได้กี่เส้นกี่วา หากวัดอีกกี่ครั้ง ก็ยังวัดได้ความยาวเท่าเดิม ไม่มากขึ้นหรือลดลง จึงเป็นที่มาของสำนวน คงเส้นคงวา

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน :
- นายอำเภอคนนี้น่าเคารพ เพราะเป็นคนคงเส้นคงวามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ท่านเคยปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ยังคงปฏิบัติอย่างนั้น
- สุชาติทำอะไรไม่คงเส้นคงวา วันก่อนยังบอกว่าต้องเข้มงวดกับลูกน้องให้มาก แต่พอมาวันนี้กลับบอกว่าปล่อย ๆ พวกเขาไปเถอะ

สาระน่ารู้ :
- “เส้น” หมายถึง มาตราวัดพิกัด ๒๐ วา
- “วา” หมายถึง มาตราวัดมีพิกัด ๔ ศอก

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b2.html/feed 0
วัวลืมตีน https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%99.html https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%99.html#comments Sun, 27 Sep 2020 01:23:35 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=503 สำนวนไทย ” วัวลืมตีน ”

สำนวน วัวลืมตีน

ความหมาย : สำนวนนี้หมายถึง คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ได้หน้าอย่าลืมหลัง , ยกตนข่มท่าน

ที่มาของสำนวน : คำว่า ลืมตีนในสำนวนนี้ มาจากวัวที่จำรอยตีนที่มันเคยเดินไม่ได้ จึงถูกนำมาเปรียบเปรยกับคนที่ได้ดีแล้ว ลืมกำพืดของตนเองที่เคยลำบาก ยากจนมาก่อน

ข้อสังเกต : สํานวนนี้มักมีคำสร้อยคือ “ ลืมตัวเหมือนวัวลืมตีน ” ใช้ในเชิงตำหนิคนที่ลืมรากเหง้าของตัวเอง

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน :
- ตอนเด็กๆ เสี่ยสมชาย มีฐานะยากจน ตอนเรียนหนังสือก็อาศัยอยู่กับหลวงตาที่วัด แต่ตอนนี้เมื่อเขามีฐานะร่ำรวย มีชื่อเสียงทางสังคม เขาก็ทำตัวหยิ่งผยอง ชอบดูถูกคนอื่นที่ฐานะยากจน พฤติกรรมแบบนี้ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ” วัวลืมตีน “

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%99.html/feed 0
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก https://proverbthai.com/%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81.html https://proverbthai.com/%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81.html#comments Wed, 08 Jul 2020 10:54:56 +0000 Mr.สุภาษิต http://proverbthai.com/?p=473 สำนวนไทย ” ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก

ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก

ความหมาย : สํานวนนี้หมายถึง ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้ หรือผู้ที่พูดว่าทำสิ่งนั้นๆได้โดยง่าย ดูง่ายไปเสียหมด แต่พอเวลาทำจริงกลับทำไม่ได้อย่างที่พูดไว้

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกันเงื้อง่าราคาแพง

ที่มาของสํานวน : มาจากเปรียบเปรยถึงการทำขนมเบื้องไทย ซึ่งดูเผินๆเหมือนกับว่าทำไม่ยาก แต่ที่จริงแล้ว ต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะขั้นตอนการละเลงแป้งบนกะทะให้เป็นแผ่น หากไม่ชำนาญจริงแผ่นแป้งจะเรียบบางไม่เท่ากัน

ข้อสังเกต : คำว่า ‘ ปาก ‘  ในสำนวนนี้หมายถึงการพูด เช่น พูดว่าตัวเองสามารถละเลงแป้งบนกะทะเพื่อที่จะทำขนมเบื้องได้ง่ายๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วทำไม่ได้ง่ายๆ ต้องอาศัยความชำราญไม่ใช่ทำด้วยการพูด (ปาก)

ตัวอย่างประโยคและการนำไปใช้งาน

- ผู้ชายคนนั้นดีแต่พูดไปเรื่อย อะไรๆก็ง่ายไปหมด แต่พอเอาเข้าจริง กลับทำอะไรไม่เป็นเลยสักอย่าง  ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ” ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ”

 

]]>
https://proverbthai.com/%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81.html/feed 0