ค้าค้นหา ‘การทำงาน’

หัวล้านนอกครู

 

สำนวนสุภาษิต ” หัวล้านนอกครู ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา หรือไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำของครูอาจารย์จนทำให้เกิดความเดือดร้อน สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ตักน้ำรดหัวตอ

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง

 

สำนวนสุภาษิต ” สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงการเป็นพ่อค้า ทำอาชีพค้าขายนั้น สู้รับราชการขุนนางหรือข้าราชการไม่ได้ สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เจ้าคนนายคน

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

กินน้ำเห็นปลิง

 

สำนวนสุภาษิต ” กินน้ำเห็นปลิง ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ แต่เจออะไรบางอย่างที่ไม่น่าไว้วางใจ จึงไม่ทำสิ่งนั้นๆ ต่อให้จบ สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เข้าด้ายเข้าเข็ม

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ขว้างงูไม่พ้นคอ

 

สำนวนสุภาษิต ” ขว้างงูไม่พ้นคอ ” สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ผู้ที่มีปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วพยายามจะปัดความรับผิดชอบ เพื่อที่จะให้ปัญหาให้พ้นจากตัวเอง แต่ก็ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้  ยังต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานั้นอยู่ดี สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : พุ่งหอกเข้ารก

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ขี่ช้างอย่าวางขอ

 

สำนวนสุภาษิต ” ขี่ช้างอย่าวางขอ ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึง ผู้ที่มีลูกน้องใต้บังคับบัญชา ต้องหมั่นกวดขันเอาใจใส่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย ซึ่งต้องดูแลกวดขันอย่างสม่ำเสมอ สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา

 

สำนวนสุภาษิต ” รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงผู้ที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทำแต่สิ่งดีงาม ก็จะพบกับความสุข ความเจริญในหน้าที่การงาน และในทางตรงกันข้ามผู้ใดไม่ขยันศึกษาเล่าเรียน ทำแต่สิ่งชั่วร้าย ก็จะพบเจอกับความยากลำบาก หาความเจริญมิได้ สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

 

สำนวนสุภาษิต ” มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึง ผู้ที่ไม่ยอมช่วยเหลืองานของส่วนรวม แล้วแถมยังทำตัวเกะกะทำให้การดำเนินงานของส่วนร่วมลำบากยิ่งขึ้น สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : หมูเขาจะหาม อย่าเอาคานเข้าไปสอด ที่มาของสํานวน : คำว่า “ ราน้ำ ” ( ดูความหมาย )  ในสำนวนนี้ แปลว่า ต้านน้ำ  ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้พายเรือลำบากต้องใช้แรงมากขึ้น ผู้ที่ลงเรือลำเดียวกับคนอื่น นอกจากจะไม่ช่วยพายเรือแล้ว ยังจะเอาเท้าราน้ำเล่น ทำให้คนอื่นพายเรือลำบากขึ้น จึงเกิดเป็นสำนวน “ มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ” วิดีโอที่กี่ยวข้องกับสำนวน   ตัวอย่าง ครูมอบหมายให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันทำรายงาน ในกลุ่มของสมศรีมีเพื่อนคนนึงไม่ยอมช่วยงานกลุ่มเลย แล้วยังมาชวนเพื่อนที่ทำงานอยู่นั้นพูดคุยอีก ทำให้งานเสร็จช้า ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ” มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ”

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

หมูเขาจะหาม อย่าเอาคานเข้าไปสอด

 

สํานวนสุภาษิต ” หมูเขาจะหาม อย่าเอาคานเข้าไปสอด ” ความหมายของสํานวนสุภาษิตนี้ : อย่าเข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ กิจกรรม หรือการกระทําของผู้อืน ซึ่งเขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ไม่เอาถ่าน

 

สำนวน คำพังเพย ” ไม่เอาถ่าน ” ความหมาย สํานวนนี้หมายถึง เหลวไหลไม่เอาใจใส่ในการที่จะทำตัวให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษาเล่าเรียน ในด้านความประพฤติ หรือในด้านอาชีพการงาน เป็นต้น สำนวนนี้มักนำไปใช้เป็น เด็กไม่เอาถ่าน หรือ คนไม่เอาถ่าน

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ช้าๆได้พร้าเล่มงาม

 

สำนวนสุภาษิต ” ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการทำอะไรซักอย่างควรจะทำด้วยความรอบคอบ ไม่ต้องรีบร้อน ทำไปแล้วเก็บรายละเอียดดีๆ ก็จะได้ผลงานที่ออกมาดี

[ อ่านเพิ่มเติม → ]
 Page 2 of 3 « 1  2  3 »
advertisement