ค้าค้นหา ‘สุภาษิตไทย’

พิมเสนแลกกับเกลือ

 

สำนวนสุภาษิต ” พิมเสนแลกกับเกลือ ” หรือ “ อย่าเอาพิมเสน ไปแลกกับเกลือ ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงการลดตัวไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ต่ำกว่า หรือการโต้ตอบ ทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เอาเนื้อไปแลกกับหนัง

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

แมงเม่าบินเข้ากองไฟ

 

สำนวนสุภาษิต ” แมงเม่าบินเข้ากองไฟ ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงลุ่มหลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี จึงได้หลงผิดเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จนทำให้ตนเองได้รับอันตราย สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

หมากัดอย่ากัดหมา

 

สำนวนสุภาษิต ” หมากัดอย่ากัดหมา ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงอย่าไปโต้ตอบทะเลาะกับคนพาลสันดานหยาบ หรือคนที่มีระดับต่ำกว่า เพราะจะทำให้ตนเองเสียหาย เสียชื่อเสียง สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : อย่าเอาพิมเสน ไปแลกกับเกลือ

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

น้ำขึ้นให้รีบตัก

 

สำนวนสุภาษิต ” น้ำขึ้นให้รีบตัก ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงเมื่อมีโอกาสดีๆผ่านเข้ามา ให้รีบคว้าโอกาสนั้นเอาไว้ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เต็มที่ ก่อนที่ช่วงเวลาที่มีโอกาสดีๆจะผ่านไป สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม , สิบเบี้ยใกล้มือ ,  กว่าถั่วจะสุก  งาก็ไหม้ , รวบหัวรวบหาง

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

รกคนดีกว่ารกหญ้า

 

สำนวนสุภาษิต ” รกคนดีกว่ารกหญ้า ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึง หากมีคนอยู่จำนวนมากอาจจะใช้ประโยชน์ได้บ้าง  ซึ่งดีกว่ามีหญ้า(วัชพืช)ขึ้นเต็ม ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้และยังกลายเป็นภาระอีกด้วย  มักจะมีสำนวนตรงกันข้ามว่า “ แต่รกคนบ้า  รกหญ้าดีกว่ารกคน ” ซึ่งคนบ้าในสำนวนนี้หมายถึงคนพาล คนไม่ดี สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : กำขี้ดีกว่ากำตด

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้

 

สำนวนสุภาษิต ” อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้ ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง ถ้าหากไม่ใช่หน้าที่ของเรา ก็ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว หรือไปจัดการ เพราะอาจจะทำให้ตัวเราเองเดือดร้อนได้ สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : แกว่งเท้าหาเสี้ยน

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ขี่ช้างอย่าวางขอ

 

สำนวนสุภาษิต ” ขี่ช้างอย่าวางขอ ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึง ผู้ที่มีลูกน้องใต้บังคับบัญชา ต้องหมั่นกวดขันเอาใจใส่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย ซึ่งต้องดูแลกวดขันอย่างสม่ำเสมอ สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ

 

สำนวนสุภาษิต ” ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ ” ความหมาย : สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึง ให้รู้จักกาละเทศะ มีความเจียมตัว รู้จักที่ต่ำที่สูง สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน :  นกน้อยทำรังแต่พอตัว

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา

 

สำนวนสุภาษิต ” รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงผู้ที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทำแต่สิ่งดีงาม ก็จะพบกับความสุข ความเจริญในหน้าที่การงาน และในทางตรงกันข้ามผู้ใดไม่ขยันศึกษาเล่าเรียน ทำแต่สิ่งชั่วร้าย ก็จะพบเจอกับความยากลำบาก หาความเจริญมิได้ สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

[ อ่านเพิ่มเติม → ]

มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

 

สำนวนสุภาษิต ” มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ” ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึง ผู้ที่ไม่ยอมช่วยเหลืองานของส่วนรวม แล้วแถมยังทำตัวเกะกะทำให้การดำเนินงานของส่วนร่วมลำบากยิ่งขึ้น สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : หมูเขาจะหาม อย่าเอาคานเข้าไปสอด ที่มาของสํานวน : คำว่า “ ราน้ำ ” ( ดูความหมาย )  ในสำนวนนี้ แปลว่า ต้านน้ำ  ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้พายเรือลำบากต้องใช้แรงมากขึ้น ผู้ที่ลงเรือลำเดียวกับคนอื่น นอกจากจะไม่ช่วยพายเรือแล้ว ยังจะเอาเท้าราน้ำเล่น ทำให้คนอื่นพายเรือลำบากขึ้น จึงเกิดเป็นสำนวน “ มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ” วิดีโอที่กี่ยวข้องกับสำนวน   ตัวอย่าง ครูมอบหมายให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันทำรายงาน ในกลุ่มของสมศรีมีเพื่อนคนนึงไม่ยอมช่วยงานกลุ่มเลย แล้วยังมาชวนเพื่อนที่ทำงานอยู่นั้นพูดคุยอีก ทำให้งานเสร็จช้า ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ” มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ”

[ อ่านเพิ่มเติม → ]
 Page 8 of 10  « First  ... « 6  7  8  9  10 »
advertisement